ยาแก้ข้อเข่าเสื่อม ทานแล้ว ช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการได้จริงไหม

Last updated: 2 มี.ค. 2565  |  275 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ยาแก้ข้อเข่าเสื่อม ทานแล้ว ช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการได้จริงไหม

ถ้าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว ยาแก้ข้อเข่าเสื่อม ทานต่อเนื่องจะมีผลกระทบในระยะยาวหรือไม่ ?

ครั้งก่อน เราพูดถึงเรื่องของ อาการข้อเข่าเสื่อมสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงและพบมากในกลุ่มวัย 50 ปีขึ้นไป แต่ก็ยังมีบางกลุ่มที่อายุน้อย แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้กันมากขึ้น ที่สำคัญ การรักษาก็สามารถทำได้หลากหลายวิธี หนึ่งในวิธีที่หลายๆ คนเลือกเพราะง่ายและตอบโจทย์มากที่สุด ก็คือการทานยาแก้ข้อเข่าเสื่อม ซึ่งปกติแล้วก็จะอยู่ที่แทพย์เจ้าของไข้จะวินิจฉัยว่าอย่างไร และจ่ายยาแบบไหน วันนี้เราจะมาดูว่า จริงๆแล้ว หากเราเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม การทานยาแก้ข้อเข่าเสื่อม มันจะช่วยได้จริงไหม ทานยาต่อเนื่องบ่อยๆ จะเกิดผลกระทบอะไรกับอวัยวะภายในร่างกายของเราไหม แล้วมีวิธีอย่างไร ที่จะทำให้เราหายป่วย หรือหายขาดจากโรคนี้ได้บ้าง ?

 

โรคนี้สำหรับยาแก้ข้อเข่าเสื่อม ที่ดีๆ ได้ผลลัพธ์ดี ส่วนมากจะมีส่วนประกอบของ 2 ตัวนี้เป็นหลัก

“กลูโคซามีน” ที่ต้องมีส่วนประกอบนี้ สำหรับเป็นยาแก้โรคข้อเข่าเสื่อมเพราะ ส่วนประกอบหลักของกระดูกอ่อนผิวข้อ ส่วนประกอบตัวนี้จะเข้าไปช่วยซ่อมแซมและคงสภาพให้กระดูกออ่อนสามารถรับแรงกระแทกหรือรับน้ำหนักได้ดี และยังช่วยสร้างน้ำหล่อลื่นให้แก่ไขข้อ จากผลวิจัยพบว่า ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบของกลูโคซามีน จะช่วยลดอการปวดหรือทำให้ข้อมีอาการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น หากรับประเข้าไปในระยะเวลาหนึ่ง  “กลูโคซามีน” เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีความปลอดภัย เนื่องจากเป็นการสร้างเสริมสารที่มีอยู่ในร่างกายอยู่แล้วแต่อาจมีปริมาณไม่เพียงพอ และหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการรับประทานยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน

“คอลลาเจนไทป์ทู” เป็นโปรตีนที่มีส่วนประกอบสำคัญ ของกระดูกและข้อ ปกติแล้วคอลลาเจนจะมี 2 ประเภท ซึ่งสำหรับคอลลาเจนที่เหมาะกับกระดูกและไขข้อ สำหรับคนที่มีอายุขึ้น จำเป็นต้องทานเสริมเพราะระดับคอลลาเจนในร่างกายจะลดลง ดังนั้นการเลือกทานคอลลาเจนไทป์ทู จะเข้าไปเสริมความหยึดหยุ่นและซ่อมแซมจุดที่เสียหายได้ ทำให้ลดอาการอักเสบ ปวด หรือลักษณะของอาการผิดรูปต่างๆ ได้



ในโรคข้อเข่าเสื่อมมีการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่รับประทานคอลลาเจน ชนิดที่ 2 ร่วมกับการรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตตามอลมีอาการปวดเข่าน้อยกว่าผู้ป่วยที่รับประทานยาแก้ปวดพาราเซตตามอล เพียงอย่างเดียว ดังนั้น การทาน ยาแก้ข้อเข่าเสื่อม ก็ควรจะเลือกและดูส่วนประกอบหลักสำคัญ และคำนึงถึงผลกระทบระยะยาวกับร่างกายของเราด้วยเป็นสำคัญ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้